30 สิงหาคม 2551

การนอนไม่หลับ ตอน การนอนหลับของเด็ก

เด็กทารกจะนอนไม่เป็นเวลา วันหนึ่งจะนอน 16-17 ชั่วโมงแต่ละครั้งจะนอนนาน 1-2 ชั่วโมงจนกระทั้ง 6 เดือน การนอนของเด็กจะเป็นเวลาขึ้น เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะนอนน้อยลง และนอนนานขึ้น แนวทางที่จะเสนอเป็นแนวทางที่จะทำให้เด็กหลับสบายขึ้นและหลับนานขึ้น

1.ดูแลเด็กด้วยความนุ่มนวล และเงียบ โดยการให้นมหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้นุ่มนวลรบกวนเด็กให้น้อยที่สุด และให้เงียบ
2.พยายามเล่นกับเด็กในเวลากลางวันเพื่อให้เด็กง่วงในเวลากลางคืน
3.ทันทีที่เด็กง่วงนอนให้นำเด็กเข้านอน อย่าไกวแปลหรืออุ้มจนเด็กหลับ
4. หลีกเลียงให้เด็กดูดหัวนมปลอมตอนนอน นอกจากเด็กจะติดจริงๆ หลังจากหลับให้เอาหัวนมปลอมออก 5.เมื่อเด็กร้องอย่ารีบไปดูเด็กเพราะเด็กอาจจะหลับได้อีก ถ้าเด็กไม่หยุดร้องรอ 2-3 นาทีเวลาเข้าไปดูอย่าเปิดไฟ อย่าอุ้ม อย่าไกวเปล ถ้ายังร้องอีกให้ตรวจดูว่าเด็กหิวหรือไม่ เด็กปัสสาวะหรือไม่
6.เมื่อเด็กอายุได้ 2-3 เดือนควรแยกเตียงนอน เนื่องจากหากเด็กมีพี่ที่ตื่นเด็กจะไม่ยอมนอน
7.ก่อนเข้านอนให้เด็กสงบโดยการอ่านหนังสือ เล่านิทาน หรือร้องเพลง หรืออาบน้ำอุ่นก่อนนอน
8.จัดเวลานอนและตื่นให้แน่นอน
9. อาจจะให้เด็กนำสิ่งที่ชอบไปด้วย เช่นตุ๊กตา ผ้าห่ม หมอนเป็นต้นแต่ต้องระวังอันตรายจากของนั้นด้วย 10.จักห้องให้เหมาะสม เช่น เย็นพอควร แสงมืดๆ เสื้ออย่าคับเกินไป
11.อย่าให้เด็กนอนด้วยเนื่องจากเด็กจะปรับตัวนอนคนเดียวได้ยาก
12.เมื่อเด็กร้องอย่าเข้าไปทันทีทุกครั้ง

ให้รอ 1-2 นาทีค่อยตอบเด็ก แล้วค่อยเพิ่มระยะเวลาที่ตอบให้เด็กนอนเอง
ให้เด็กมั่นใจว่าว่าแม่ยังอยู่ไม่ได้ทิ้ง
หลังจากให้ความมั่นใจเด็กแล้วรีบออกจากห้องให้เด็กหลับเอง

ปัญหาการนอนของเด็ก

การฝันร้าย
ฝันร้ายในเด็กมักจะพบบ่อยในเด็กมักจะเกิดในช่วงที่เด็กหลับสนิทช่วงเวลา 4 -6 นาฬิกา เด็กจะตื่นและมาหาท่านพร้อมทั้งสามารถเล่าความฝันได้ อาจจะฝันเรื่อปีศาจ เด็กจะร้องไห้ หายใจหอบเด็กอาจจะไม่ยอมไปหลับและอาจจะฝันซ้ำๆ อาการฝันร้ายอาจจะเป็นถึงวัยรุ่นจึงหายไป สาเหตุเกิดจากเด็ได้รับความกระทบกระเทือนจากจิตใจ และการเจ็บป่วยทางร่างกาย ถ้าหากการฝันร้ายทำให้เด็กนอนไม่หลับควรที่จะตรวจสอบว่าเด็กมีเรื่องเครียดอะไรบ้าง การฝันร้ายอาจจะทำให้เด็กง่วงในตอนกลางวันควรปรึกษาแพทย์ประจำครอบครัว

ละเมอ
เด็กจะพูดได้ 30 วินาที ความหมายไม่ต่อเนื่อง เด็กจะหายได้เองไมต้องรักษา

เดินละเมอ
อาการจะเกิดหลังจากนอนหลับไป 2-3 ชั่วโมง เด็กจะลุกนั่งและเดินไปมา เด็กอาจจะเดินรอบบ้าน เปิดประตูได้เด็กอาจจะเดินกลับที่นอนแล้วนอนต่อ ถามเด็กตอนเช้าเด็กจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์บ่อยอาจจะต้องป้องกันอุบัติเหตุโดยการเก็บของที่เป็นอันตราย ปิดประตูล็อกกุญแจ อาการนี้จะหายไปเมื่อเป็นวัยรุ่น

19 สิงหาคม 2551

การนอนไม่หลับ

การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามในการนอนแต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนอนเท่าใด คนเราจะมีช่วงที่ง่วงนอน 2ช่วงคือกลางคืน และตอนเที่ยงวันจึงไม่แปลกใจกับคำว่าท้องตึงหนังตาหย่อนในตอนเที่ยง
กลไกการนอนหลับ
เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร
melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้

1. การนอนช่วง Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ 1 ใหม่
  • Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
  • Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
  • Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย

2. การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาทีหลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้

เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน

อาการนอนไม่หลับ ไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง

การวินิจฉัย แพทย์จะถามคำถาม 4 คำถามได้แก่

  • ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
  • นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
  • เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
  • สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่

แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ

คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก

  • เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
  • อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
  • หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
  • บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว

ทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน

การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง
มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)

จะปรึกษาแพทย์เมื่อไร ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน ก่อนพบแพทย์ควรทำตารางสำรวจพฤติกรรมการนอนประมาณ 10 วันเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ในการรักษาแพทย์จะแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ถ้าไม่ดีจึงจะให้ยานอนหลับ
การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลาและคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพและการออกกำลังกาย

การนอนไม่หลับ ตอน สาเหตุของการนอนไม่หลับ

แบ่งได้เป็นเหตุใหญ่ๆ ดังนี้
1. สาเหตุจากทางด้านจิตใจ (Psychologic Causes of Insomnia) ผู้ป่วยจำนวนมากเกิดจากทางด้านจิตใจ เช่นโรคเครียด โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 70 จะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการสำคัญ 2. ปัจจัยกระตุ้นให้นอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) มักจะเป็นชั่วคราวเช่น
  • Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่นผลจากความเครียด จากการเจ็บป่วย ผ่าตัด การสูญเสียของรัก จากงาน เมื่อปัจจัยกระตุ้นหายอาการนอนไม่หลับจะกลับสู่ปกติ
  • Jet Lag ผู้ป่วยเดินบินข้ามเขตเวลาทำให้เปลี่ยนเวลานอนร่างกายปรับตัวไม่ทันจะทำให้นอนยาก
  • Working Conditions เช่นคนที่เข้าเวรเป็นกะๆทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป ทำให้นอนไม่เป็นเวลา
  • Medications นอนไม่หลับจากยา เช่นกาแฟ ยาลดน้ำมูก

3. นอนไม่หลับจากโรค Medical and Physical Conditions หากคุณมีโรคบางโรคก็อาจจะทำให้คุณนอนไม่หลับเช่น

  • โรคบางโรคขณะเกิดอาการจะทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เช่นโรคหอบหืด โรคหัวใจวาย ภูมิแพ้ โรคสมองเสื่อม Alzheimer โรคparkinson โรคคอพอกเป็นพิษ
  • ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ฮอร์โมน progesteron จะทำให้ง่วงนอนช่วงไข่ตกจะมีฮอร์โมน progesteron สูงทำให้ง่วงนอน แต่ช่วงใกล้ประจำเดือนฮอร์โมนจะน้อยทำให้อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ การตั้งครรภ์ระยะแรกและระยะใกล้คลอดจะมีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ช่วงแรกของหญิงวัยทองก็มีอาการนอนไม่หลับเช่นกัน
  • นอนไม่หลับจากการเปลี่ยนเวลานอน Delayed Sleep-Phase Syndrome เมื่อถึงเวลานอนแต่ไม่ได้นอนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน

4. ปัจจัยส่งเสริมอาการนอนไม่หลับ Perpetuating Factors มีหลายภาวะที่ส่งเสริมให้นอนไม่หลับ

  • Psychophysiological Insomnia เกิดจากนอนก่อนเวลานอนแล้วนอนไม่หลับ เรียก Advanced sleep phase Syndrome ทำให้คนผู้นั้นพยายามที่จะนอน กระสับกระส่าย พลิกตัวไปมา ไม่ผ่อนคลายจนกลายเป็นความเครียด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะ ชีพขจรเร็ว ตื่นง่าย อุณหภูมิจะสูงกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่นกาแฟ สุรา การดื่มกาแฟหรือสุราตอนกลางวันถึงกลางคืนอาจจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน การดื่มสุราเล็กน้อยก่อนนอนจะช่วยลดความเครียดทำให้หลับดีขึ้นแต่ถ้าหากดื่มมากจะทำให้หลับไม่นานตื่นง่าย ช่วงที่อดสุราก็จะมีปัญหาหลับยาก ผู้ที่สูบบุหรี่จะนอน 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นเนื่องจากระดับ nicotin ลดลง
  • การที่ระดับ melatonin ลดลงระดับ melatonin จะมีมากในเด็กและลดลงในผู้ใหญ่หลังอายุ 60 ปีจะมีน้อยมาก
  • จากแสง จากความรู้ข้างต้นแสงจะกระตุ้นให้ตื่นแม้ว่าจะรี่แสงแล้วก็ตาม
  • นอนไม่หลับในวัยเด็ก พ่อแม่ที่เวลานอนไม่สม่ำเสมอจะทำให้เด็กนอนไม่หลับในตอนโต
  • การออกกำลังตอนใกล้เข้านอน การทำงานที่เครียดก่อนนอน
  • การที่นอนและตื่นไม่เป็นเวลา
  • สิ่งแวดล้อมในห้องนอนไม่ดี เช่นร้อน หนาว แสงจ้าไป เสียงดังไป รวมทั้งลักษณะการนอนของคนใกล้ชิด เช่นนอนดิ้น นอนกรนเป็นต้น
    หากท่านยังไม่ทราบสาเหตุให้กรอกตารางสำรวจสาเหตุการนอนไม่หลับความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น

08 สิงหาคม 2551

ความรู้เพื่อการนอนหลับที่ดี

มองและร่างกายใช้เวลาช่วงนอนหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อ คุณภาพชีวิต ที่ดีของเรา หากท่านสังเกตดูคนที่นอนไม่เพียงพอ หรืออดนอนนานๆ ประสิทธิภาพต่างๆ ในการทำงานจะลดลงเนื่องจากสมองล้า ร่างกาย อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ นอกจากนี้ในผู้ที่นอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมี ความวิตกกังวลตึงเครียดง่าย โดยเฉพาะอย่างช่วงเวลาจะเข้านอน เตียงนอนอาจเป็น ที่ไม่สบอารมณ์ได้ง่าย เมื่อถึงเวลานอนเวลานอนกลายเป็นที่ๆ ทำให้วิตก กังวลเมื่อนึกถึงว่า คืนนี้จะหลับได้หรือไม่ หรือคืนนี้คงไม่หลับ อีกตามเคย
ย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและอาการวิตกกังวล ตึงเครียด เหล่านี้สามารถลดลงหรือหายไปได้ หากมีการปฏิบัติสุขอนามัยการนอนหลับ (sleep hygiene) และฝึกให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับ ซึ่งทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง
ารเข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาทุกวันจะทำให้เกิดความเคยชิน อยากนอนและตื่นเมื่อถึงเวลา และหากในคืนที่ถัดมาท่านนอนดึกกว่าปกติ ท่านควรตื่นสายหน่อยหรือตรงเวลาเดิมดี คำตอบที่ถูกคือ พยายามตื่นตรง เวลา แม้ท่านจะง่วงในระหว่างวันบ้าง แต่ตกดึกท่านจะหลับได้อย่างรวดเร็ว ลุกจากเตียงนอนทันทีเมื่อตื่น เปิดหน้าต่างสัมผัสแสงสว่างช่วงเช้าๆ (6-7 นาฬิกา) กายบริหารหลังตื่นเบาๆ สัก 10-15 นาที ก่อนทำกิจกรรม อื่นต่อไป จะช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัว สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ดีกว่า
ลีกเลี่ยงการงีบหลับในระหว่างวัน เพราะจะรบกวนการนอนที่ต่อเนื่อง ในตอนกลางคืนได้ สำหรับท่านที่ง่วงจนทนไม่ไหวอาจงีบช่วงกลางวันสั้นๆ ไม่เกิน 30 นาที กายบริหาร หรือออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วงเช้าตรู่หรือตอนเย็น จะช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกายและอารมณ์ แต่ไม่ควรปฏิบัติค่ำเกินไป เพราะจะรบกวนการนอนหลับได้
ย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ช่วงเย็นถึงก่อนนอน ไม่ควรดื่ม คาเฟอีน เกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการดื่มกาเฟอีนช่วงบ่ายลงๆ ถึงเวลานอน อย่าสูบ บุหรี่ก่อนนอนหรือกลางดึก
ย่านอนเล่นนานๆ บนเตียงไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่สำหรับอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือทำงานอื่นๆ การปฏิบัติกิจกรรมที่ไม่ใช่การนอนหลับบนเตียง จะเร้า ความรู้สึกตื่นในขณะที่เราอยากหลับได้
รับอุณหภูมิที่พอดีในขณะหลับ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ห้องนอน ที่เงียบและมืด จะช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ดี อาหารมื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภท เนื้อ หรือ โปรตีนมากๆ และหากทานอาหารมื้อก่อนนอนด้วย ควรเป็นเพียงนมหรือ อาหารประเภทมอลล์สกัด น้ำผลไม้ก็เพียงพอแล้ว การนอนหลับจะเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพผ่อนคลาย ดังนั้นขณะเข้านอนหากร่างกายและอารมณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดไม่ผ่อนคลาย จะไม่สามารถหลับลงอย่างง่ายดาย จึงควรจัดช่วงเวลาสำหรับผ่อนคลายอารมณ์เป็นกิจวัตรประจำวัน ช่วง 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน โดยหลีกเลี่ยง การทำงานหรือกิจกรรมที่ตึงเครียด 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และหากท่าน เป็นคนตึงเครียดง่าย หรือมีเรื่องที่ต้องขบคิดจำนวนมากตลอดวัน แนะนำ ให้ปฏิบัติดังนี้ใช้เวลาช่วงสั้นๆ หลังอาหารมื้อเย็น จดลำดับเรื่องต่างๆ ที่ทำให้ คิด หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เช้า และวางแผนจัดการ แต่ละเรื่อง อย่างคร่าวๆ สั้นๆ ให้ปฏิบัติทุกวันจนเคยชิน และหากท่านเข้านอน 15-30 นาที แล้วยังไม่หลับ ให้ลุกจากเตียง หาอะไร ทำเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง เปิดเฉพาะแสงไฟอ่อนๆ หลีกเลี่ยงการดูทีวี ฟังข่าว (เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ตื่น) กลับมาที่เตียง เมื่อง่วงเท่านั้น อย่านอนแช่ อยู่บนเตียงโดยไม่หลับถึงเช้า เพราะจะกระตุ้น ให้เกิดความวิตกกังวล เมื่อเข้า นอนในคืนถัดๆ มาหากไม่ง่วงเลย อาจใช้ยา ช่วยให้หลับเป็นครั้งคราวได้
ารปฏิบัติสุขอนามัยการนอนที่ถูกต้อง และการขจัดพฤติกรรม ที่รบกวนการนอน ฝึกให้มีพฤติกรรม ที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ควรปฏิบัติ ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-10 สัปดาห์ พบว่า ช่วยให้เกิดการนอนหลับที่ง่ายขึ้นในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการนอนไม่หลับควรปฏิบัติ สุขอนามัยการ นอนหลับ และปรับพฤติกรรมการนอนตั้งแต่แรก จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา นอนไม่หลับ เรื้อรังได้ในผู้ที่ใช้ยาช่วยให้หลับต่อเนื่องมานานกว่า 3-6 เดือน หากหยุดยา ทันทีอาจเกิดอาหารนอนไม่หลับใหม่ จำเป็นต้องค่อยๆ ลดยาลงเรื่อยๆ ร่วมกับการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น จนสามารถ หยุดยาลงได้ในที่สุด